ชื่ออื่น ส้มมวง (ใต้) ชะมวง (ตรัง, ระนอง) หวากโมก มวง กะมวง (ใต้) ส้มมวง (อีสาน) ตระมูง (เขมร)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ4-10ม.แตกกิ่งสาขาของลำต้นเปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม
ใบ ใบเดี่ยว ขอบใบเรียบ ใบหนายาว สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวอมม่วงแดง ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน
บริเวณปลายกิ่งมักแตกเป็น 1-3 ยอด ตัวใบค่อนข้างหนา และด้านใบสีเขียวยาว 1.2-1.9 ซม. ตัวใบ
ยาว 18-20 ซม. ขอบใบเรียบมีกลิ่นน้อย ไม้ผลัดใบ
ดอก สีขาวมี 3 กลีบ ดอกมีขนาดเล็กกลีบแข็งสีนวลเหลือง มีกลิ่นหอมและออกจำนวนมาก
ใหญ่ประมาณ 10-15 มิลลิเมตร ดอกออกตามกิ่ง
ผล ผลทรงกลม ข้างผลเว้าเป็นพู เมื่อสุกมีสีเหลืองส้ม ผลมีเนื้อหนาสีเหลืองรสฝาด และมีเมล็ด
อยู่ภายในจำนวน 4-6 เมล็ด
การขยายพันธุ์ เมล็ด
ฤดูกาลขยายพันธุ์ เดือนเมษายน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ป่าโคก ป่าโปร่ง
ความสัมพันธ์กับระบบนิเวศน์ ที่ลำต้นเห็ดเกิดได้
การใช้ประโยชน์
ทางอาหาร ยอดรับประทานสด ผลเมื่อสุกรับประทานได้ รสเปรี้ยว ผลหั่นเป็นแว่นตากแดด
ใส่ในปลาร้าเพิ่มรสชาติ
ทางยา เป็นยาระบาย ใบและผลมีรสเปรี้ยว สรรพคุณระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุ
พิการ และใบผสมกับยาชนิดอื่นปรุงเป็นยาขับเลือด ราก สรรพคุณแก้ไข้
การใช้สอยอื่น นำผลและใบแก่มาหมักเป็นกรดให้สีเหลืองใช้เป็นสีย้อมผ้า
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ เก็บยอดเดือน พฤษภาคม (ฤดูฝน) ความหมาย เปรียบเสมือนความดีของทุกคน ที่มีอยู่ในตัวถ้านำออกมาใช้ ความดีก็จะแพร่
กระจายไป เป็นที่ยอมรับของสังคม ดั่งสรรพคุณของต้นชะมวง จงอย่าย่อท้อในการทำความดี
|